บริษัท อิชิไม่ตัน จำกัด




บริษัท อิชิไม่ตัน จำกัด


ประวัติความเป็นมา
บริษัท อิชิไม่ตัน กรุ๊ป จำกัด เริ่มต้นจากการก่อตั้งในชื่อจดทะเบียนว่า บริษัท ไม่ตัน จำกัด เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2010 โดย นักธุรกิจระดับพันล้านที่สร้างผลงานด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อประกอบธุรกิจเครื่องดื่ม ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ น้ำผลไม้ผสมดับเบิลดริงก์และชาเขียวอิชิไม่ตัน ทั้งนี้ ได้ประกาศคํามั่นสัญญา ในการ ดําเนินงานของบริษัท จึงตั้งเป้าไว้ที่การเป็น ผู้ให้ด้วยการแบ่งเงินปันผลของบริษัทในส่วนตัวให้กับมูลนิธิตันปัน 50% ตั้งแต่ปีแรกที่ดำเนินการ จนกระทั่ง อายุครบ 60 ปี คือตั้งแต่วันที่ 9 เดือน 9 พ.ศ. 2562 เขาจะเพิ่มเงินบริจาคไม่ต่ำกว่า 90% ให้กับมูลนิธิตันปันตลอดไป เพื่อพัฒนาการศึกษาและสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม

ข้อมูลบริษัท
บริษัท อิชิไม่ตัน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เปิดรับผู้ร่วมงานรุ่นใหม่ไฟแรง มีความมุ่งมั่นตั้งใจเกินร้อย ร่วมสร้างประวัติศาสตร์แห่งความสำเร็จ วัดกันทั้งฝีมือ ทัศนคติที่ดีเกินร้อย และความพร้อมที่จะก้าวไปกับ คุณตัน อิชิไม่ตัน .... เรายังคงมองหาและรอคอยคนที่ใช่ หากคุณคิดว่า คุณมี DNA ตรงกับเรา พร้อมจะเรียนรู้ มีความสุข และ สนุกในการทำงานอยู่เสมอ...มาร่วมงานกับเรา เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
สถานที่ตั้ง
ตันแลนด์: อิชิไม่ตัน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ 3 เลขที่ 111/1 หมู่ที่ 4 ตําบล อุทัย อําเภอ อุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13210

วัตถุประสงค์ของบริษัท
     1. เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น
     2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
     3. เพื่อเพิ่มกำไรให้กับบริษัท
     4. เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับบริษัท
     5. เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจในการทำงาน บริการ รวมถึงพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์ของบริษัทด้วย


เป้าหมายของบริษัท   
สร้างผลกำไรให้ได้สูงสุด และคืนกำไรให้กำสังคมด้วยการแบ่งเงินปันผลของบริษัทในและเงินส่วนตัวส่วนตัวให้กับมูลนิธิตันปัน 50% เพื่อพัฒนาการศึกษาและสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม
นโยบายบายของบริษัท

  • ·       นโยบายและวิธีการดูแลผู้บริหารในการนำข้อมูลภายในบริษัทไปใช้
บริษัทมีนโยบายการป้องกันการนำข้อมูลภายในบริษัทไปใช้ โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการเงินของบริษัท

  • ·       นโยบายในการพัฒนาบุคลากรของบริษัท
บริษัทมีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรของบริษัทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันและผลักดันให้องค์การบรรลุสู่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืน



โครงสร้างองค์กร

หน้าที่และปัญหาแต่ละแผนก
ประกอบด้วย
1.       แผนกบุคลากร มีหน้าที่ดังนี้
ทำหน้าที่ ในการจัดการ  ดูแล  งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน การดูแลสวัสดิการความเป็นอยู่ของพนักงานการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน  การลงโทษพนักงาน  และการดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน 
ปัญหาของแผนกบุคลากร 
1) เอกสารมีจำนวนมาก   และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2) การสืบค้นประวัติและแก้ไขประวัติของพนักงานทำได้ยาก
3) ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
4) การจัดสรรเงินเดือนให้พนักงานได้ยากลำบาก  เพราะแต่ละคนเงินเดือนไม่เท่ากัน
5) มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงาน

1.       แผนกจัดซื้อ มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ วางแผนและตรวจสอบในระบบการซื้อสินค้าทั้งหมด จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้า และยังตรวจสอบจำนวนสินค้าในคลังสินค้า เพื่อที่ต้องสั่งสินค้าเพิ่ม จัดหาวัตถุดิบต่างๆ และทำเอกสารการเบิกจ่ายออกบิลของสินค้า
ปัญหาของแผนกจัดซื้อ
      1) ยากต่อการตรวจสอบยอดการเบิกจ่าย
                    2) ยากต่อการตรวจเช็คจำนวนสินค้า วัตถุดิบ ที่คงเหลือในคลัง
                   3) การสั่งซื้อสินค้าอาจจะเกิดการผิดพลาด หรือได้สินค้ามาไม่ตรงตามความต้องการ
                  4) บิลสินค้าอาจจะไม่ถูกต้องตามต้องการ ก่อให้เกิดความเสียหาย
                  5) จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ

2.       แผนกการขาย/การตลาด มีหน้าที่ดังนี้
  • - วิเคราะห์  วางแผน   กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อ ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และกำหนดเป้ายอดขาย ในแต่ละกลุ่มลูกค้า ที่มีความเป็นไปได้ ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
  • - วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ให้มีการส่งเสริมการขาย ด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการ กิจกรรม การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่หน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆจัดให้มีขึ้น ในแต่ละปี
  • - วิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์  และ เผยแพร่ โฆษณา PR ไปยังสื่อต่างๆ
  • - วิเคราะห์ วางแผน กำหนดเป้าหมาย  และดำเนินการสร้าง ตัวแทนจำหน่ายและ ผู้สร้างระบบ(Implementor) ในแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย สำหรับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ได้ทำหน้าที่ กำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้า กำหนด ยอดขายในลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ฝ่ายการขายดำเนินการต่อ ส่งเสริมการขายสินค้า
ปัญหาของแผนกการขาย/การตลาด
1) ตรวจสอบสินค้าภายในคลังได้ยากว่าสินค้าคงเหลือเท่าไร
2) เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระบบระเบียบ
3) ตรวจสอบยอดขายสินค้าเป็นไปได้ยาก
4) มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น  ทำให้ยากต่อการขายตามเป้าหมายใช้เงินลงทุนสูงในการโฆษณาสินค้า  เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก

1.       แผนกการเงินและการบัญชี  
ทำหน้าที่ ดูแลการเงินของบริษัท ตรวจสอบการใช้จ่าย รายรับ รายจ่ายของบริษัท รายละเอียดของการใช้เงินแต่ละแผนก จัดทำบัญชีต่างๆของบริษัท
           
ปัญหาของแผนกการเงินและการบัญชี 
            1) เอกสารมีจำนวนมาก   และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
            2) เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
            3) เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร อาจเกิดการทุจริตได้ง่าย
            4) ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรขาดทุนและอาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี



1.       แผนกประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่ดังนี้
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัท รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและพัฒนา และติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข่าวสารของบริษัท
ของแผนกประชาสัมพันธ์ 
               1) การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
              2) สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ              
              3) การประชาสัมพันธ์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง


1.       แผนกผลิตสินค้า มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามนโยบายและหน้าที่ที่มอบหมาย สามารถทำงานกับเครื่องจักรปัญหา ได้เบื้องต้น พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้เบื้องต้น และต้องเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในแผนกนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเอง รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต


ปัญหาของแผนกผลิตสินค้า
                    1) มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจนจึงมีของเสียในกระบวนการผลิต
        2) แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
                    4) มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
                    5) มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า และไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้า


    แผนกควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่ดังนี้

 รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามมาตรฐานเรื่องคุณภาพที่บริษัทกำหนด โดยร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้ากับผู้บังคับบัญชา และให้ความสำคัญกับ กระบวนการตรวจสอบสินค้าทุกระบวนการผลิต 
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ
                     1) สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
                     2) การตรวจสอบวัตถุดิบไปไปได้ยาก
                     3) มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด


    แผนกออกแบบผลิตภัณฑ์  มีหน้าที่ดังนี้

          รับผิดชอบในการออกแบบขวดบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะใช้บรรจุสินค้าเพื่อให้มีความโดดเด่น และดึงดูดให้ลูกค้าสนใจในตัวสินค้า
ปัญหาของแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์
                    1) ออกแบบไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
                    2) ออกแบบตัวผลิตภัณฑ์อาจไม่ไปไปตามที่ต้องการของฝ่ายการตลาด


ปัญหาระหว่างแผนก

ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกผลิตสินค้า
-          จะเกิดการซื้อของมาเกินจำนวนที่การคลังระบุและเกินกว่าการขาย
-          จำนวนของที่ขายออกไป ไม่ตรงกับบัญชีของในแผนกการคลัง
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกควบคุมคุณภาพ
-          ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่แผนกควบคุมคุณภาพกำหนดไว้
ปัญหาระหว่างแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์กับแผนกจัดซื้อ
-          จัดซื้อของเกินความจำเป็นในการออกแบบ
ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกการขาย/การตลาด
-          แผนกจัดซื้อของต่างๆไม่สมดุลกับแผนกการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับประชาสัมพันธ์
-          แผนกประชาสัมพันธ์โปรโมทสินค้าไม่สอดคล้องกับการตลาด
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกจัดซื้อ
-          แผนกจัดซื้อไม่จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตให้แก่แผนกผลิตสินค้า
-          แผนกจัดซื้อ จัดซื้อวัตถุดิบไม่ตรงตามความต้องการของแผนกผลิตสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกการขาย/การตลาด
-          แผนกการขายไม่แจ้งจำนวนสินค้าให้แก่แผนกผลิตทำให้แผนกผลิตไม่ทราบจำนวนของที่เหลืออยู่
ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกการเงินและการบัญชี
-          การเบิกเงินในการจัดซื้อมีความล้าช้า
-          แผนกการเงินและการบัญชีไม่ทราบยอดที่แน่นนอนในการจัดซื้อ
ปัญหาระหว่างแผนกบุคลากรกับแผนกการเงินและการบัญชี
-          แผนกการเงินและการบัญชีจ่ายเงินเดือนไม่ตรงกับการทำงานของพนักงาน
ปัญหาระหว่างแผนกการเงินและการบัญชีกับแผนกการขาย
                            -        การเงินจะทำยอดบัญชีผิดหากการขายส่งยอดขายมาผิด
                            -        การเงินจะไม่สามารถสรุปยอดเงินได้ หากการขายไม่แจ้งยอดมาให้




สรุปปัญหาทั้งหมด

  1. เอกสารมีจำนวนมาก   และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
  2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
  3. ตรวจสอบสินค้าภายในคลังได้ยากว่าสินค้าคงเหลือเท่าไร
  4. ยากต่อการตรวจเช็คจำนวนสินค้า วัตถุดิบ ที่คงเหลือในคลัง
  5. ตรวจสอบยอดขายสินค้าเป็นไปได้ยาก
  6. เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร อาจเกิดการทุจริตได้ง่าย
  7. ยากต่อการตรวจสอบยอดการเบิกจ่าย
  8. การสืบค้นประวัติและแก้ไขประวัติของพนักงานทำได้ยาก
  9. บิลสินค้าอาจจะไม่ถูกต้องตามต้องการ ก่อให้เกิดความเสียหาย
  10. ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรขาดทุนและอาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
  11. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
  12. การสั่งซื้อสินค้าอาจจะเกิดการผิดพลาด หรือได้สินค้ามาไม่ตรงตามความต้องการ
  13. การจัดสรรเงินเดือนให้พนักงานได้ยากลำบาก  เพราะแต่ละคนเงินเดือนไม่เท่ากัน
  14. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
  15. ออกแบบไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
  16. มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
  17. ออกแบบตัวผลิตภัณฑ์อาจไม่ไปไปตามที่ต้องการของฝ่ายการตลาด
  18. มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น  ทำให้ยากต่อการขายตามเป้าหมายใช้เงินลงทุนสูงในการโฆษณาสินค้า  เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก
  19. การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
  20. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
  21. การตรวจสอบวัตถุดิบไปไปได้ยาก
  22. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจนจึงมีของเสียในกระบวนการผลิต
  23. มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า และไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้า
  24. มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
  25. การประชาสัมพันธ์ทำได้ไม่ทั่วถึง
  26. มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงาน


การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรร ระบบที่ต้องการพัฒนา

1.  ค้นหาระบบที่ต้องการพัฒนา
จากการที่ได้สำรวจปัญหาของแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้
1. ระบบงานขาย/การตลาด
2. ระบบงานการเงิน/การบัญชี
3. ระบบจัดซื้อ

ทางบริษัทได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบของบริษัททั้งสิ้น 400,000 บาท


2. จำแนกและจัดกลุ่มระบบ

ระบบทั้ง 3 ระบบที่ค้นหามาได้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ระบบงานขาย
         วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการตรวจสอบสินค้าคงเหลืออยู่ในคลังได้อย่างง่ายดายและพิมพ์ข้อมูลเพื่อสรุปรายกายขายต่อวัน
2. ระบบงานบัญชี
        วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ จัดเก็บเอกสารได้มีระบบระเบียบ สะดวกในการค้นหาเอกสาร  ใช้งานได้ง่ายต่อการทำงานและง่ายต่อการพัฒนาต่อ
3. ระบบจัดซื้อ
         วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของการการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งตรวจสอบสินค้าคงเหลือเพื่อจะได้จัดซื้อเข้ามาใหม่ รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


จากตาราง พบว่าแต่ละระบบสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ทั้งหมด แต่เนื่องด้วยทางบริษัทมีงบประมาณในการพัฒนาระบบจำกัด จึงต้องนำระบบทั้ง 3 มาพิจารณาใหม่อีกครั้งซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของขนาดระบบ งบประมาณและผลประโยชน์ สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้


ตารางเมตริกซ์ Information System –to-Objectives
จากการพิจารณาโครงการทั้ง 3 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดของโครงการที่ต้องการพัฒนาและผลประโยชน์จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ ระบบการขาย กับ ระบบงานบัญชี แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนของบริษัท ทางบริษัทจึงเห็นควรเลือกพัฒนาโครงการระบบการขายซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางที่ทางบริษัทสามารถให้เงินลงทุนได้และปฎิเสธโครงการพัฒนาระบบงานบัญชีเนื่องจากใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงกว่า

การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบการขายมาใช้งาน
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถตรวจเช็คสินค้าและจำนวนสินค้า รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าในวงกลางได้  อีกทั้งมีปัญหาในเรื่องของการเบิกจ่ายและการสั่งซื้ออาจทำให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูล เช็คย้อนหลังได้ยาก เพื่อลดปัญหาต่างๆลง ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ 3 แนวทางคือ
                 1.จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
                 2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
   3.ใช้ทีมงานเดิมมาพัฒนาและติดตั้งระบบ

ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด  

การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
 ทางเลือกที่ 1 : การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaged Software) มีรายละเอียดดังตาราง
แนวทางเลือกที่ 1  จัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือก จ้างบริษัทบริษัทมาพัฒนาระบบ   มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด


ทางเลือกที่ 2 : ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตาราง
แนวทางเลือกที่ 2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ


การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
        ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือก ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง


สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือก จ้างบริษัท พัฒนาระบบB   มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

ข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง
แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จระบบ B
ข้อดี  ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ได้จัดทำไว้ราค่ามาต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย ระบบไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบองค์กรใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานนาน

 แนวทางเลือกที่ 2 การจ้างบริษัทมาเพื่อพัฒนาระบบ B
ข้อดี ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ระบบยังมีความยืดหยุ่นในปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบองค์กรสามารถพัฒนาไปยังอนาคตข้างหน้าได้ใช้ระยะเวลาติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานน้อย
ข้อเสีย ราค่าต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบค่อนข้างสูง

ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนาพร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสอง โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
                หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้

สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
 ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุดนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีความคุ้มค่าในการลงทุน 

ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
                นำระบบการขายมาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและใช้เป็นระบบที่ใช้ในการขายสินค้ารวมถึงสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเสมือนลูกค้าเป็นพี่น้องของเรา

วัตถุประสงค์
                เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐาน ถูกต้อง ว่องไวตรงตามความต้องการ และพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
                โครงการพัฒนาระบบการขายได้มีการจัดทำขึ้นโดย ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
·       ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
·       ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
·       ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน  แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
·       ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
·       มีความสะดวกในการค้นหา

ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
·       เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
·       ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง
·       ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
·       การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าและการค้นหาข้อมูลของลูกค้าเกิดความซ้ำซ้อน
·       เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
·       เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูลเกิดความเสียหายและสูญหายได้
·       ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
·       สามารถเก็บ  และตรวจสอบข้อมูลลูกค้า สินค้าได้

ความต้องการในระบบใหม่
·       ยากต่อการหาข้อมูล
·       การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน
·       สามารถเพิ่ม แก้ไข  เปลี่ยนแปลงข้อมูลของสินค้าและข้อมูลลูกค้าได้
·       สามารตรวจเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
·       ลดความซ้ำซ้อนกันของการทำงาน
·       ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำและไม่ซ้ำซ้อน
·       ลดระยะเวลาในการทำงาน
·       การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางในการพัฒนา
                 การพัฒนาระบบ เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการขายและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น   สั่งซื้อสินค้า การตรวจสต็อกสินค้า ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน  ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน   เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้ทั้งหมด  7 ขั้นตอน   
               1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
                2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
                3. การวิเคราะห์ระบบ
                4. การออกแบบเชิงตรรกะ
                5. การออกแบบเชิงกายภาพ
                6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
                7. การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่  1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
                เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
                ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือ บริษัท อิชิไม่ตัน จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
·       การสั่งซื้อสินค้า
·       การเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการสั่ง
·       การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า

ขั้นตอนที่  2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน    ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
·       เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·       กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·       วางแผนการทำงานของระบบใหม่

ขั้นตอนที่  3  การวิเคราะห์
      1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม  ดูว่าการทำงานของบริษัท  มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม  และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งจองสินค้า
    2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ  ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
        3.จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้    เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว   ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้   ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่  4  การออกแบบเชิงตรรกะ
                 เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน  ซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละงานจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ระบบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว       

ขั้นตอนที่  5  การออกแบบเชิงกายภาพ
                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  โปรแกรมสำเร็จรูป  เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น และมีความรวดเร็ว ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป

ขั้นตอนที่   6   การพัฒนาและติดตั้งระบบ
          ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หรือจัดทำโปรแกรมขึ้นมาเอง แต่อาจจะมีความยุ่งยากไปหน่อยหลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่  ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
                1. เขียนโปรแกรม
                2. ทดสอบโปรแกรม
                3. ติดตั้งระบบ
                4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ

 ขั้นตอนที่   7   การซ่อมบำรุงระบบ
                อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ  เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว  เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

แผนการดำเนินงานของโครงการ
                แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง  คือ ระบบการขายสินค้า  และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
                -  ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
                -  ประมาณการใช้ทรัพยากร
                -  ประมาณการใช้งบประมาณ
                -  ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน         

1. ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
                ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง  2 คน จะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
                - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
                - โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ

2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
                1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
                2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน20 เครื่อง
                3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 6เครื่อง
                4. อุปกรณ์ต่อพวง 7 ชุด (ตามความเหมาะสม)
สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
               ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระบบการขาย จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 ถึง 1 ตุลาคม 2557 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบการขายของบริษัท

ระยะเวลาดำเนินงาน
·   จำนวนชั่วโมงจริงในการทำงานในแต่ละวัน หรือส่วนหนึ่งของการประมาณระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่รวมช่วงพักเที่ยง
·       เฉพาะวันทำการ คือวันจันทร์-ศุกร์ ไม่นับวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์

รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
            จากการที่ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการขายปัญหาที่พบในระบบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท พนักงาน และอาจจะส่งผลต่อลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในด้านการบริการ และทางระบบสารสนเทศ ทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะนำไปพัฒนา


ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)

การกำหนดความต้องการของระบบ
    เมื่อระบบการขายได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการแล้ว  และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น  ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ  จึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม  ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
                    ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้  ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถา(Questionnaire)  สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม ทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบ  ซึ่งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
 ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)   บุคคลที่ตอบแบบสอบถาม คือ  ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา  เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์  ไม่ต้องมีการจดบันทึก  ดังเช่น  วิธีการสัมภาษณ์  ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก  ไม่รวบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก  สามารถเก็บข้อมูลได้มาก  ตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูลดังตัวอย่าง

ข้อมูลและเอกสารของระบบงานที่รวบรวมได้
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
       1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
       2. ความต้องการในระบบใหม่

1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN ประกอบด้วย
                1.1 เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows  Server 2007
             1.2 เครื่องลูกข่าย จำนวน 20 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP 5 เครื่อง Windows7 15 เครื่อง และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
                - แผนกการขายใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel 2007 ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
                - แผนกบัญชีใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี AccStar และใช้Microsoft Excel 2007 สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ สั่งเบิกสินค้า
                - แผนกฝ่ายบุคคล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CRM ในการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงาน
                - แผนกคลังสินค้า ใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้ และจำนวนของในสต็อกสินค้า พร้อมพิมพ์รายการสั่งซื้อ
                -แผนกประชาสัมพันธ์ ใช้ซอฟแวร์ Microsoft Power Point 2007 ในการประชามสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร
                -แผนกผลิตสินค้าใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการเช็คสินค้าที่จะใช้ผลิตและพิมพ์รายการสินค้าที่ผลิตแล้ว
                -แผนกควบคุมคุณภาพใช้ซอฟต์แวร์Microsoft word 2007 ในการพิมพ์รายการตรวจสอบคุณภาพ
          1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จำนวน 4 เครื่อง เครื่องพิมพ์อิงค์เซท 2 เครื่องเครื่องถ่ายเอกสาร 2 เครื่อง
          1.4  อุปกรณ์อื่นๆ ตัวปล่อยสัญญาณ Wi-Fi จำนวน 3 ชุด

2. ความต้องการในระบบใหม่
                2.1 สามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
                2.2 สามารถเพิ่มการสั่งซื้อสินค้าได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน
                2.3สามารถเช็คดูจำนวนสินค้าในสต๊อกได้
                2.4ตรวจสอบข้อมูลปัจจุบันและข้อมูลย้อนหลังได้
                2.5 สามารถค้นหาข้อมูลของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
               2.6  มีการพิมพ์ใบสั่งซื้อสินค้า
               2.7 ข้อมูลของแต่ละแผนกสามารถเชื่อมโยงกันได้
               2.8  สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้

การตอบสนองความต้องการดังกล่าวสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระบบดังนี้
1. ระบบการบัญชี      
                เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัททั้งหมด พร้อมทั้งสามารถเช็คดูข้อมูลการส่งซื้อสินค้าย้อนหลัง ช่วยควบคุมรายรับ - รายจ่ายของบริษัท ค้นหาตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถพิมพ์ใบเสร็จ การสั่งซื้อสินค้าได้
2. ระบบจัดซื้อ
เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อทั้งหมดของบริษัทไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรือ ขวดบรรจุภัณฑ์รวมทั้งการตรวจเช็คสินค้าคงเหลือ วัตถุดิบเพื่อใช้ในการพิจารณาสั่งซื้อเข้ามาใหม่
3. ระบบการขาย
            เป็นระบบที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นการตลาดทำให้เกิดความรวดเร็วในการขาย ลูกค้าสามารถดูสินค้า สั่งสินค้าได้สะดวกและง่ายขึ้น


ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process  Modeling)
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
(System Requirement Structuring)

        จาการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพข้อมูล (Data Flow Diagram) ดังนี้
อธิบาย Context Diagram
      จาก Context Diagram ของระบบการบริหารงาน อิชิไม่ตัน จำกัด ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก่ แผนกบัญชี แผนกการขาย แผนกจัดซื้อ ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบ ทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบการบริหารงาน อิชิไม่ตัน จำกัด นี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Dataflow เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบ ได้ดังนี้

แผนกบัญชี
                 แผนกมีการรับข้อมูลสินค้า ข้อมูลการขาย ข้อมูลสั่งซื้อ ค่าใช้จ่าย ในการคำนวณสินค้า ระบบจะทำการไปยังระบบบริหารงานตรวจสอบเช็คสินค้า ภายในระบบจะมีขั้นตอน รายงานค่าใช้จ่าย รายงานรายการสินค้า รายงานการขายประจำวันและรายงานการสั่งซื้อ ในการคำนวณสินค้าและจะส่งไปยังแผนกบัญชี

แผนกการขาย
             เมื่อระบบได้รับสินค้า ระบบจะออกใบเสร็จ ข้อมูลสินค้า รายการสินค้าที่จะ และยอดรวมสินค้า ระบบจะทำการแจ้งไปยังระบบบริหารงานตรวจสอบเช็คสินค้าเมื่อระบบบริหารงานได้ข้อมูลแล้วจะออกรายการสินค้าและใบเสร็จแก่แผนกการขาย

แผนกจัดซื้อ
          ระบบได้ตรวจสอบยอดรวมค่าสินค้า ยอดรวมสินค้าคงเหลือ ยอดรวมวัตถุดิบคงเหลือ รายการสินค้าที่สั่งซื้อ ใบรับของใบสั่งของ ระบบได้คำนวณความถูกต้องของสินค้าและแจ้งไปยังระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ระบบตรวจเช็คสินค้าจะส่งรายการสินค้าที่ได้รับหรือสินค้าที่ไม่ได้รับ ค่าสินค้า รายการสั่งซื้อ ใบเสร็จสินค้าที่ชำระ ยอดรวมค่าสินค้า ค่าสินค้าที่ต้องชำระ รายการที่ต้องชำระ รายการสินค้าที่คงเหลือ รายการสินค้าในคลัง ให้แก่แผนกคลังสินค้าเพื่อส่งออกไปยังระบบต่อไป


อธิบาย Dataflow Diagram Level 0
     จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 3 ระบบ ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

      Process 1.0 สั่งสินค้า เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมด สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
          แผนกคลังสินค้าเช็คสินค้าในคลัง โดยทำการเช็คผ่านตัวระบบตรวจสอบสินค้า ระบบจะเข้าไปดูสินค้าคงเหลือในแฟ้มสินค้าคงเหลือ แล้วส่งรายการสินค้าคงเหลือมายังคลังสินค้า หลังจากนั้นคลังสินค้าจะป้อนรายการสินค้าที่สั่งซื้อเข้ามาในระบบ ตัวระบบจะนำข้อมูลรายการสินค้าที่สั่งซื้อไปบันทึกแฟ้มข้อมูลสั่งซื้อและข้อมูลสินค้าไปบันทึกในแฟ้มข้อมูลสินค้า แล้วระบบจะส่งรายการสั่งซื้อกลับมาให้คลังสินค้า

     Process 2.0 ขายสินค้า เป็นระบบจัดการการขายสินค้าทั้งหมด ในเรื่องสินค้าที่ขาย ใบเสร็จรับเงิน สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
          แผนกขายสินค้า ป้อนรายการสินค้าที่ขายเข้าระบบขายสินค้า ตัวระบบจะดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้าแล้วส่งข้อมูลการขายไปบันทึกในแฟ้มข้อมูลการขายผ่านระบบ หลังจากนั้นระบบจะส่งค่าสินค้ากับใบเสร็จรับเงินให้กับแผนกขายสินค้า

     Process 3.0 พิมพ์รายงาน เป็นระบบพิมพ์รายงานข้อมูลต่างๆ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
          แผนกบัญชี จะส่งความต้องการรายงานยอดขายเข้าสู่ระบบ ตัวระบบจะดึงข้อมูลการขายจากแฟ้มข้อมูลการขายผ่านระบบแล้วสั่งพิมพ์รายงานยอดขายไปให้บัญชี
หากต้องการรายงานการขายประจำวัน ทางแผนกบัญชีจะต้องส่งส่งความต้องการรายงานการขายประจำวัน เข้าสู่ระบบ ตัวระบบจะดึงข้อมูลการขายจากแฟ้มข้อมูลการขายผ่านระบบแล้วสั่งพิมพ์รายงานยอดขายไปให้บัญชี

    หากต้องการรายงานรายการสินค้า ทางแผนกบัญชีจะต้องส่งส่งความต้องการรายงานรายการสินค้า เข้าสู่ระบบ ตัวระบบจะดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้าผ่านระบบแล้วสั่งพิมพ์รายงานรายการสินค้า ไปให้บัญชี

     หากต้องการรายงานค่าใช้จ่าย ทางแผนกบัญชีจะต้องส่งส่งความต้องการรายงานค่าใช้จ่าย เข้าสู่ระบบ ตัวระบบจะดึงข้อมูลค่าใช้จ่ายจากแฟ้มข้อมูลค่าใช้จ่ายผ่านระบบแล้วสั่งพิมพ์รายงานค่าใช้จ่าย ไปให้บัญชี

Dataflow Diagram Level 1 of Process 1.0 แผนกจัดซื้อ
     Process 1.0 ระบบสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 4 ขั้นตอนหรือ 4 Process ดังนี้
Process 1.1 ตรวจสอบสินค้า แผนกคลังสินค้าจะเข้าไปเช็คสินค้าในคลังในระบบ ตัวระบบจะไปตรวจสอบรายการสินค้าในคลังในแฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือผ่านระบบตรวจสอบสินค้า หลังจากนั้นระบบจะส่งรายการสินค้าคงเหลือให้กับคลังสินค้า
Process 1.2 สั่งซื้อสินค้า แผนกคลังสินค้าป้อนรายการสินค้าที่สั่งซื้อเข้าระบบ ตัวระบบจะดึงข้อมูลสั่งซื้อในแฟ้มข้อมูลสั่งซื้อและข้อมูลสินค้าในแฟ้มข้อมูลสินค้าผ่านระบบสั่งซื้อสินค้า แล้วตัวระบบจะส่งใบส่งของไปให้ระบบตรวจรับสินค้า
Process 1.3 ตรวจรับสินค้า ระบบจะรับใบสั่งของจากระบบสั่งสินค้า และรับใบรับของจากคลังสินค้าเข้ามาในระบบ แล้วระบบจะตรวจเช็คสินค้าตามใบสั่งของและใบรับของผ่านระบบ หลังจากนั้นระบบจะส่งรายการสินค้าที่ได้รับและรายการสินค้าที่ไม่ได้รับมาให้คลังสินค้า และส่งยอดรวมค่าสินค้าไปให้ระบบชำระสินค้า
Process 1.4 ชำระสินค้า ระบบจะได้รับยอดรวมค่าสินค้าจากระบบตรวจรับสินค้า แล้วระบบจะออกใบเสร็จสินค้าที่ต้องชำระไปให้คลังสินค้า



Dataflow Diagram Level 1 of Process 2.0 แผนกขาย
     Process 2.0 แผนกขาย ระบบขายสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้

Process 2.1 จัดเตรียมสินค้า แผนกขายป้อนรายการเบิกสินค้าจากคลังเข้าสู่ระบบ ตัวระบบจะดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้าผ่านระบบ หลังจากนั้นระบบจะส่งรายการสินค้าที่ขายไปให้แผนกขายและส่งยอดรวมสินค้าไปให้ระบบคำนวณราคา
         Process 2.2 คำนวณราคา ระบบจะได้รับยอดรวมสินค้าจากระบบจัดเตรียมสินค้า แล้วระบบจะดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้าผ่านระบบ หลังจากนั้นจะส่งราคาสุทธิไปยังระบบออกใบเสร็จ
             Process 2.3 ออกใบเสร็จ เมื่อระบบได้รับราคาสุทธิจากระบบคำนวณราคา แล้วตัวระบบจะออกใบเสร็จไปให้แผนกขาย




ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface

รูปที่ 1 เข้าสู่ระบบ


รูปที่ 2 เลือกระบบที่จำทำงาน



รูปที่ 3 หน้ารายการขายสินค้า


รูปที่ 4 หน้าสรุปรายการขายประจำวัน



รูปที่ 5 หน้าเช็คสินค้าคงเหลือ






ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ

    ทีมงานได้จัดทำ เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบจัดซื้อ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โปรแกรมระบบขายเป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่
1. รายชื่อลูกค้า มีหน้าที่ในการในการตรวจสอบชื่อลูกค้า พร้อมทั้งเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล และพิมพ์รายงาน
2. รายชื่อสินค้า มีหน้าที่ในการแจ้งยอดขายสินค้า นำเสนอสินค้า บอกรายละเอียดของสินค้าต่างๆ
3. รายการขายสินค้า เป็นระบบที่ออกใบเสร็จรับเงิน ใบรายการสินค้า เป็นต้นเป็นระบบทีจัดการข้อมูลสินค้า สามารถตรวจสอบการซื้อสินค้า สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายมากขึ้น และเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่อง





 ขั้นตอนที่ 7
ซ่อมบำรุง


                การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว








  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น